เกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ในระหว่างศึกษา
การคงสภาพนักเรียนทุนเพื่อรับทุน พสวท. ในระดับถัดไป
การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ภายในระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน
การรายงานสำเร็จการศึกษาเพื่อประสงค์ศึกษาต่อในระดับต่อไป
การขอเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศ
การขอรับทุนสนับสนุนเพื่อไปเสนอผลงานทางวิชาการ ณ ต่างประเทศ
การขอรับทุนไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
- การขออนุมัติรับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล”
- การขอรับทุนอื่นไปศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ณ ต่างประเทศ
การกลับเข้ารับทุนการศึกษา พสวท. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จากทุนอื่น
การขอเรียนภาษาต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวระหว่างรอการตอบรับให้เข้าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา ณ ต่างประเทศ
การปฏิบัติตัวของผู้รับทุน พสวท. ณ ต่างประเทศ
การคงสภาพนักเรียนทุนเพื่อรับทุน พสวท. ในระดับถัดไป
ระดับมัธยมศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 5
เพื่อคงสภาพเป็นนักเรียนทุนในชั้นถัดไป จะพิจารณาจากสถานภาพในแต่ละปีการศึกษา โดยต้องมีเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา มีความประพฤติดี
(2) มีผลการเรียนวิชาต่างๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 5 เป็นไปตามเกณฑ์ คือ
1. หลักสูตรปกติ คิดคะแนนรวมเฉลี่ยตลอดปีการศึกษา
- ระดับคะแนนเฉลี่ยทุกวิชารวมกัน ≥ 3.00
- ระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์รวมกับวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน ≥ 3.25
(ยกเว้นโปรแกรมเสริม พสวท.)
2. หลักสูตรโปรแกรมเสริมคิดคะแนนเฉลี่ยตลอดปีการศึกษา
- ระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์รวมกับวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน ≥ 3.00
ในกรณี ผู้รับทุนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนรวมเฉลี่ยตลอดปีไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ให้พิจารณาคะแนนรวมทุกรายวิชาเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตลอด 4 ภาคเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพื่อคงสภาพเป็นนักเรียนทุนในชั้นถัดไป จะพิจารณาจากสถานภาพในแต่ละปีการศึกษา โดยต้องมีเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา มีความประพฤติดี
(2) มีผลการเรียนวิชาต่างๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 เป็นไปตามเกณฑ์
1. หลักสูตรปกติ คิดคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการเรียน
- ระดับคะแนนเฉลี่ยทุกวิชารวมกัน ≥ 3.00
- ระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์รวมกับวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน ≥ 3.25
(ยกเว้นโปรแกรมเสริม พสวท.)
2. หลักสูตรโปรแกรมเสริม (คิดคะแนนโครงงาน 1 และโครงงาน2)
- ระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ (โครงงานวิทยาศาสตร์) ≥ 3.00 หรือ ระดับคะแนนวิชาคณิตศาสตร์รวมกัน หรือโครงงานคณิตศาสตร์/โครงงานเทคโนโลยี ≥ 3.00
ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้กับผู้รับทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
ระดับปริญญาตรี
- ผ่านเงื่อนไขการเป็นผู้รับทุน พสวท. ในระดับชั้นที่ต่ำกว่า
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด และผ่านการคัดเลือกของคณะอนุกรรมการ
- มีความขยันหมั่นเพียรในการเรียน และมีความประพฤติดี และเข้าร่วมกิจกรรมที่โครงการ พสวท. จัดขึ้น
- มีผลการเรียนดี ตามเกณฑ์ดังนี้
ชั้นปีที่ |
ผลการเรียนที่ใช้พิจารณา |
ระดับคะแนน |
1 |
คะแนนเฉลี่ยตลอดปี |
≥ 3.00 |
2 |
คะแนนเฉลี่ยตลอดปี หรือคะแนนเฉลี่ยสะสม |
≥ 3.00 |
3 |
คะแนนเฉลี่ยสะสม |
≥ 3.00 |
4 |
คะแนนเฉลี่ยสะสม |
≥ 3.00 |
ทั้งนี้ผู้รับทุนต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่าจำนวนหน่วยกิจปกติตามแผนการศึกษาของหลักสูตรที่ศึกษา
- กรณีผู้รับทุนระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 2.75 – 2.99 สามารถรอพินิจได้ 1 ปีการศึกษา
- กรณีผู้รับทุนมีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ข้างต้น จะได้รับการตัดสินให้พ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนทุน ทั้งนี้การพิจารณาว่าต้องชดใช้ทุนหรือไม่ ให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้น แล้วนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ระดับบัณฑิตศึกษา
- ผ่านเงื่อนไขการเป็นผู้รับทุน พสวท. ในระดับชั้นที่ต่ำกว่า
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด และผ่านการคัดเลือกของคณะอนุกรรมการ
- มีความขยันหมั่นเพียรในการเรียน และมีความประพฤติดี และเข้าร่วมกิจกรรมที่โครงการ พสวท. จัดขึ้น
- มีผลการเรียนดี คะแนนเฉลี่ยสะสมทุกวิชาแต่ละปีไม่ค่ำกว่า 3.25
- กรณีผู้รับทุนมีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ จะได้รับการตัดสินให้พ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนทุน ทั้งนี้การพิจารณาว่าต้องชดใช้ทุนหรือไม่ ให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้น แล้วนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการโดยให้พิจารณาเป็นกรณีไป
การลงทะเบียนของผู้รับทุน พสวท. กำหนดให้ผู้รับทุน พสวท. ลงทะเบียนเรียนในภาคปกติ เท่านั้น หากผู้รับทุน พสวท. ประสงค์จะลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน ดังนั้น
- ผู้รับทุน ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนในภาคฤดูร้อน ด้วยทุนส่วนตัว
- ผู้รับทุน พสวท. ลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อนได้แบบไม่นับหน่วยกิต (Audit) ทั้งนี้ เนื่องจากทุน พสวท. มีจุดประสงค์ให้ผู้รับทุนใช้เวลาในภาคฤดูร้อน ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยอย่างเต็มที่ แต่อนุญาตให้เรียนวิชาเสริมที่เป็นวิชานอกหลักสูตรเองได้ โดยต้องลงทะเบียนแบบไม่นับหน่วยกิต
ยกเว้นในกรณีที่ได้เกรด E หรือ F ในวิชาที่เป็นวิชาพื้นฐานของวิชาในเทอมถัดไป และต้องขออนุญาตศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นกรณีไป ส่วนกรณีที่เป็นวิชาบังคับให้ลงทะเบียนภาคฤดูร้อนของหลักสูตรนั้น เช่น การฝึกงาน ให้ถือว่าไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ที่กำหนด
[แบบฟอร์มการขออนุมัติการขยายเวลาการศึกษาต่อ]
ระดับปริญญาตรี
- ระยะเวลาให้ทุนการศึกษาเป็นเวลาไม่เกิน 4 ปี แต่ผู้รับทุนสามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาโดยใช้ทุนส่วนตัวได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการขยายเวลาการศึกษา แล้วจึงแจ้งให้ สสวท. ทราบ
- หากไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่อนุมัติ จะต้องพ้นสภาพการเป็นผู้รับทุน พสวท. และชดใช้เงินทุนตามเงื่อนไขของสัญญารับทุน
- การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ พสวท.
ระดับปริญญาโท
- ระยะเวลาให้ทุนการศึกษาเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี แต่ผู้รับทุนสามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน รวมไม่เกิน 3 ปี โดยให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการขยายเวลาการศึกษา แล้วจึงแจ้งให้ สสวท. ทราบ
- ผู้รับทุนไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลากำหนดตามข้อ 1. จะไม่ได้รับเงินทุนการศึกษาต่อ แต่ยังมีข้อผูกมัดตามเงื่อนไขสัญญาการับทุน
- การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ พสวท.
ระดับปริญญาโท-เอก
- ระยะเวลาให้ทุนการศึกษาเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี แต่ผู้รับทุนสามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน โดยให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการขยายเวลาการศึกษา แล้วจึงแจ้งให้ สสวท. ทราบ
- ผู้รับทุนไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลากำหนดตามข้อ 1. จะไม่ได้รับเงินทุนการศึกษาต่อ แต่ยังมีข้อผูกมัดตามเงื่อนไขสัญญาการับทุน
- การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ พสวท.
ระดับปริญญาเอก
- ระยะเวลาให้ทุนการศึกษาเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี แต่ผู้รับทุนสามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน รวมไม่เกิน 4 ปี โดยให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการขยายเวลาการศึกษา แล้วจึงแจ้งให้ สสวท. ทราบ
- ผู้รับทุนไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลากำหนดตามข้อ 1. จะไม่ได้รับเงินทุนการศึกษาต่อ แต่ยังมีข้อผูกมัดตามเงื่อนไขสัญญาการับทุน
- การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ พสวท.
หมายเหตุ การกำหนดระยะเวลาการให้ทุนการศึกษาและขยายเวลา ใช้เกณฑ์เดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หากหลักสูตรใดมีความแตกต่างให้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณา
[แบบฟอร์มการขอเปลี่ยนแปลงระดับการศึกษา]
- ผู้รับทุนที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท และได้รับอนุมัติจากสถานศึกษาให้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก โดยไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงระดับการศึกษา ผู้รับทุนต้องทำหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแนบหลักฐานการอนุมัติให้เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกผ่านศูนย์มหาวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติเปลี่ยนแปลงระดับการศึกษามายัง สสวท. ทั้งนี้ผู้รับทุนต้องเป็นผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาโทมาแล้วไม่เกิน 3 ภาคการศึกษา
- หากได้รับอนุมัติ ผู้รับทุนมีระยะเวลาในการรับทุนการศึกษารวม 5 ปี โดยนับตั้งแต่แรกศึกษาระดับปริญญาโท
- ผู้รับทุนสามารถยื่นเรื่องขอขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6 เดือน โดยให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการขยายเวลาการศึกษา แล้วจึงแจ้งให้ สสวท. ทราบ
- ผู้รับทุนไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลากำหนดตามข้อ 1. จะไม่ได้รับเงินทุนการศึกษาต่อ แต่ยังมีข้อผูกมัดตามเงื่อนไขสัญญาการับทุน
- การยกเว้นเงื่อนไขดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ พสวท.
ระดับปริญญาตรี
ผู้รับทุน พสวท. ที่ประสงค์จะขอย้ายสาขาวิชา ให้ทำหนังสือขออนุมัติต่อคณะอนุกรรมการ ผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ตลอดจนมีข้อคิดเห็นของศูนย์มหาวิทยาลัยประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ สาขาวิชาที่เปลี่ยนจะต้องไม่ขัดต่อหลักการของทุน พสวท. และไม่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาสำเร็จการศึกษาของผู้รับทุน
ระดับบัณฑิตศึกษา
ผู้รับทุน พสวท. ที่ประสงค์จะขอย้ายสาขาวิชา ให้ทำหนังสือขออนุมัติต่อคณะอนุกรรมการ ผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยพร้อม และแนบแผนการศึกษาในสาขาวิชาใหม่ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ตลอดจนมีข้อคิดเห็นของศูนย์มหาวิทยาลัยประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ สาขาวิชาที่เปลี่ยนจะต้องไม่ขัดต่อหลักการของทุน พสวท. และไม่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาสำเร็จการศึกษาของผู้รับทุน
- กรณีผู้รับทุนป่วย และต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน ให้ทำหนังสือผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา และผ่านศูนย์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีหนังสือรับรองหรือเอกสารแสดงความเห็นของแพทย์ประกอบการอนุมัติต่อคณะอนุกรรมการ
- ในช่วงลาพักการศึกษา ผู้รับทุนจะไม่ได้รับทุนการศึกษา
- กรณีขอลาพักการศึกษาด้วยสาเหตุอื่นๆ ผู้รับทุนต้องทำเรื่องเสนอผ่านศูนย์มหาวิทยาลัย เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ
ทั้งนี้ อนุญาตให้ลาพักการศึกษาได้ไม่เกิน 1 ปีการศึกษา
การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ภายในระยะเวลา 3 ปี 6 เดือน
อนุมัติให้จ่ายเงินทุนการศึกษาในช่วงเวลาที่รอเข้าศึกษาระดับปริญญาโทในประเทศ สำหนับผู้รับทุนที่สามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศได้ภายในระยะ 3 ปี 6 เดือนได้ ทั้งนี้ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ หรือปฏิบัติภารกิจอื่นโดยได้รับความเห็นชอบจากสสวท. เช่น การเรียนหรือฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ และให้แนบแผนเสนอต่อคณะอนุกรรมการ
การรายงานสำเร็จการศึกษาเพื่อประสงค์ศึกษาต่อในระดับต่อไป
เมื่อผู้รับทุน พสวท. สำเร็จการศึกษาและประสงค์จะศึกษาต่อในระดับต่อไป ต้องรายงานผ่านศูนย์มหาวิทยาลัย หรือ สสวท. พร้อมแนบเอกสารผลการเรียนฉบับสมบูรณ์ (Complete Transcript) หลังจากได้รับการอนุมัติจากสภาพมหาวิทยาลัยแล้วไม่เกิน 1 เดือน
โครงการ พสวท. มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเป็นอย่างน้อย เพื่อพัฒนาให้ผู้รับทุนมีความรู้ ความสามารถในระดับสูงเพียงพอที่จะเข้าปฏิบัติงาน สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
- ผู้รับทุนต้องแจ้งความประสงค์ในการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกไปยัง สสวท. ภายในเดือนพฤศจิกายน
- ต้องสมัครสอบในสาขาวิชาที่อนุญาตให้ศึกษา และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบของบัณฑิตวิทยาลัยของสถาบันที่สมัคร และรายงานผลการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อให้ สสวท. ทราบ เพื่อความสะดวกในการจัดส่งทุนการศึกษา
- กรณีสาขาวิชาที่ประสงค์จะศึกษา ไม่ได้ระบุไว้ในรายชื่อวิชาสาขาที่อนุญาตให้ศึกษาได้ ผู้รับทุนต้องทำหนังสือขอนุมัติศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าว ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนสมัครเข้าศึกษาต่อ โดยแจ้งเหตุผลความจำเป็นผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยเพื่อให้ความเห็นและรับรอง แล้วจึงส่งมา สสวท. เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการ
ผู้รับทุนระดับปริญญาโทหรือเอก จะได้รับอนุญาตให้มีการย้ายสถานศึกษาได้ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
- ผู้รับทุนต้องทำหนังสือขออนุมัติย้ายสถานศึกษา ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน โดยแจ้งเหตุผลความจำเป็นผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยเพื่อให้ความเห็น แล้วจึงส่งมา สสวท. เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการ
- ไม่อนุมัติให้ย้ายศูนย์ภายหลังสิ้นเดือนพฤษภาคมของแต่ละปีการศึกษา
- การยกเว้นเงื่อนไขใดๆ ให้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาตัดสินเป็นกรณีไป
การขอเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศ
ผู้รับทุนสามารถเข้าร่วมประชุมวิชาการในประเทศได้ โดยให้ศูนย์มหาวิทยาลัย พิจารณาให้การสนับสนุนจากงบดำเนินการที่จัดสรรให้
การขอรับทุนสนับสนุนเพื่อไปเสนอผลงานทางวิชาการ ณ ต่างประเทศ
[ตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการไปเสนอผลงาน]
คุณสมบัติ
- กำลังศึกษาระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ในประเทศ
- มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษระดับดี โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
การเสนอขอรับทุน
ผู้รับทุน พสวท. ต้องทำหนังสือผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านคณบดีของศูนย์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ ถ้าเป็นผู้รับทุน พสวท. นอกศูนย์ให้ทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนออกเดินทาง อย่างน้อย 3 เดือน โดยนับจากวันที่ สสวท. ได้รับหนังสือ ทั้งนี้ต้องแนบหลักฐานประกอบการพิจารณา ตามรายการดังนี้
- หนังสือตอบรับการนำเสนอผลงาน (ให้ยกเว้นได้ในวันยื่นขออนุมัติ)
- เอกสารแสดงรายระเอียดเกี่ยวกับการประชุม (โปรแกรมการประชุม และอัตราค่าลงทะเบียน)
- บทคัดย่อ และ/หรือบทความ/ผลงานทางวิชาการฉบับสมบูรณ์
- ประมาณการค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์การให้ทุน
- ใบแสดงผลการเรียน
แนวทางการพิจารณา
- การประชุมวิชาการ ต้องเป็นการประชุมในสาขาวิชาที่ผู้รับทุนกำลังศึกษาโดยตรง และต้องเป็นการประชุมระดับนานาชาติ
- ได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานทางวิชาการแบบบรรยาย (Oral Presentation) ทั้งนี้หากได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานจัดนิทรรศการ (Poster Presentation) คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
- ผลงานทางวิชาการที่จะนำเสนอ ต้องเป็นผลงานของผู้รับทุน พสวท. ที่ขอรับทุน และต้องเป็นผู้นำเสนอผลงาน
- การพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการ จะพิจารณาตามวาระการประชุม
การให้ทุน
- ค่าเดินทางไป-กลับระหว่างประเทศ ชั้นประหยัดตามที่จ่ายจริง
- ค่าลงทะเบียนตามที่จ่ายจริง
- ค่าที่พักตามที่จ่ายจริงไม่เกินสิทธิ์
ทั้งนี้ สสวท. จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ผู้รับทุน พสวท. ที่ไปเสนอผลงานวิชาการ ณ ต่างประเทศ ระดับละ 1 ครั้ง
การขอรับทุนไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
คุณสมบัติ
- กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ในประเทศ ในหลักสูตรที่ไม่มีเงื่อนไขที่ต้องไปศึกษาวิจัย ณ ต่างประเทศ
- มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
- มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษระดับดี โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
- ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว
การเสนอขอรับทุน
ผู้รับทุน พสวท. ต้องทำหนังสือผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านคณบดีของศูนย์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ ถ้าเป็นผู้รับทุน พสวท. นอกศูนย์ให้ทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนออกเดินทาง อย่างน้อย 3 เดือน โดยนับจากวันที่ สสวท. ได้รับหนังสือ ทั้งนี้ต้องแนบหลักฐานประกอบการพิจารณา ตามรายการดังนี้
- หนังสือตอบรับให้ไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
- ใบแสดงผลการเรียน
- ประมาณการค่าใช้จ่าย
- แผนการศึกษาวิจัย
- หัวข้อวิจัย
- ระยะเวลาและวันที่จะเดินทางไปทำวิจัย
แนวทางการพิจารณา
- หัวข้อวิจัย ควรมีความสอดคล้องกับวิทยานิพนธ์ และเป็นผลงานที่มีคุณภาพและให้ประโยชน์ต่อวงวิชาการ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้ข้อมูลสนับสนุน
- กำหนดระยะเวลาให้ทุนไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 และไม่มีการอนุมัติให้ขยายเวลา
- การพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ขอรับทุนไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ ให้สสวท. นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการ พสวท. ระดับอุดมศึกษา พิจารณาปีละ 2 ครั้ง (ประมาณเดือนมกราคม และกรกฎาคม)
การขอหนังสือรับรองทางการเงิน (Financial statement)
ผู้รับทุน พสวท. ประสงค์จะขอหนังสือรับรองทางการเงิน จะต้องทำหนังสือผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านคณบดีของศูนย์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ ถ้าเป็นผู้รับทุน พสวท. นอกศูนย์ให้ทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทั้งนี้ต้องแนบหลักฐานประกอบการพิจารณาและระบุข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ ตามรายการดังนี้
- หนังสือตอบรับให้ไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
- ใบแสดงผลการเรียน
- ประมาณค่าใช้จ่าย
- แผนการศึกษาวิจัย
- หัวข้อวิจัย
- ระยะเวลาและวันที่จะเดินทางไปทำวัย
การขอหนังสือรับรองเป็นนักเรียนทุน
ผู้รับทุน พสวท. ประสงค์จะขอหนังสือรับรองการเป็นนักเรียนทุน จะต้องทำหนังสือผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านคณบดีของศูนย์มหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่ ถ้าเป็นผู้รับทุน พสวท. นอกศูนย์ให้ทำหนังสือโดยตรงถึงผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ต้องแนบหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา และหลักฐานการตอบรับให้ไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
การให้ทุน
- ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ตามอัตราค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลที่ศึกษา ณ ต่างประเทศ
- ค่าเดินทางไป-กลับระหว่างประเทศ ชั้นประหยัดตามที่จ่ายจริง จำนวน 1 ครั้ง
- ค่าใช้จ่ายก่อนเดินทาง ได้แก่ ค่าตรวจร่างกาย ค่าวีซ่า ค่าเครื่องแต่งการ เงินติดตัวระหว่างเดินทาง ค่าพาหนะระหว่างเดินทาง ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ฯลฯ ฝ่าย พสวท. จะเหมาจ่ายให้ผู้รับทุนรับก่อนเดินทางเพียงครั้งเดียว จำนวน 32,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ ได้แก่ ค่าหนังสือ ค่าเล่าเรียน ห้องปฏิบัติการ เบิกจ่ายตามจริง
- ค่าประกันสุขภาพ ให้เบิกตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินอัตราของ ก.พ. [อัตราของ ก.พ.]
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวทั้งหมด ต้องอยู่ในวงเงินตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
เงื่อนไขการให้ทุน
- ผู้รับทุนต้องปฏิบัติงานตอบแทนทุนเป็นระยะเวลา 1 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้รับทุนวิจัยไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ และให้นับเวลาชดใช้ทุนเพิ่มเติมจากการรับทุนตามปกติ
- ผู้รับทุนต้องรายงานผล (Final Report) และบทความให้ สสวท. เผยแพร่หลังเดินทางกลับจากการทำวิจัย โดยเอกสารต้องเน้นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำวิจัยและอ้างอิงถึงผู้ให้ทุน
- ผู้รับทุน พสวท. ไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ จะได้รับการสนับสนุน คนละ 1 ครั้ง
[แบบฟอร์มคำร้องขอสมัครรับทุนอื่น] [แบบฟอร์มขออนุมัติรับทุนอื่น]
คณะอนุกรรมการ พสวท. อนุญาตให้ผู้รับทุน พสวท. สามารถไปสมัครสอบเพื่อรับทุนอื่นได้ โดยทุนที่สมัครสอบต้องเป็นทุนที่สนับสนุนให้ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ และต้องเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไข (ข้อผูกพัน) ใดๆ ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้รับทุน พสวท. จะสมัครสอบ ต้องทำหนังสือขออนุญาตไปสมัครสอบ ผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยมายัง สสวท. และเมื่อสอบได้ต้องทำหนังสือขออนุมัติรับทุนอื่นแทนทุน พสวท. ผ่านศูนย์โรงเรียนมายัง สสวท.
การขออนุมัติรับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล”
ผู้รับทุน พสวท. ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ต้องทำหนังสือผ่านศูนย์มหาวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติรับพระราชทานทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” โดยไม่ต้องชดใช้ทุนการศึกษา เนื่องจากทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” เป็นทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และมีมาตรฐานสูงในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับทุน แม้จะไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันใดๆ แต่เมื่อผู้ที่ได้รับทุนพระราชทานมูลนิธิ “อานันทมหิดล” สำเร็จการศึกษา ผู้รับทุนควรกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป
การขอรับทุนอื่นไปศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ณ ต่างประเทศ
การขอรับทุนอื่นไปศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ณ ต่างประเทศ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ระดับและประเภททุนการศึกษาที่ได้รับ
(1) เป็นทุนที่สนับสนุนให้เรียนตั้งแต่ระดับปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ
(2) เป็นทุนของหน่วยงานอื่น หรือ ทุนส่วนตัว
(3) เป็นทุนที่ให้ศึกษา ณ ต่างประเทศ
(4) เป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันใดๆ หรือเว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากคณะอนุกรรมการ พสวท. ระดับอุดมศึกษา
2. สาขาวิชาที่ให้รับทุนการศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ตามหลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาของทุน พสวท. โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาในระดับที่ผ่านมาของผู้รับทุนด้วย [รายชื่อสาขาที่ให้ศึกษา ณ ต่างประเทศ]
3. การขออนุญาตสมัครรับทุนการศึกษา
ผู้รับทุน พสวท. ต้องขออนุญาตผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยต่อคณะอนุกรรมการ และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงไปสมัครรับทุนอื่น หรือศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัว โดยมีรายละเอียดในการปฏิบัติแต่ละระดับดังนี้
(1) กรณีผู้ที่ยังไม่เข้าปฏิบัติงาน
- ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาโท-เอก
ผู้รับทุนต้องยื่นใบสมัคร ขณะที่ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 หรือไม่เกินระดับปริญญาโทภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาแรก - ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก
ผู้รับทุนต้องยื่นใบสมัคร ขณะที่ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทปีที่ 2 หรือ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาไม่เกินระดับปริญญาเอกในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษาแรก
อย่างไรก็ตาม หากมีการกำหนดหน่วยงานให้เข้าปฏิบัติงานภายหลังสำเร็จการศึกษาไว้แล้ว ผู้รับทุนต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานนั้นด้วย
(2) กรณีผู้ที่เข้าปฏิบัติงานแล้ว
การสมัครรับทุนอื่น ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่ และถ้าผู้รับทุนยังอยู่ในช่วงเวลาปฏิบัติงานตอบแทนทุนกับทุน พสวท. ต้องแจ้งให้คณะอนุกรรมการ และ สสวท. ทราบ เพื่อขออนุมัติก่อนการสมัคร ทั้งนี้ต้องกรอกแบบฟอร์มคำร้องขอสมัครรับทุนอื่น 1 แบบฟอร์ม/ทุน (หรือ 1 หน่วยงานของทุน ก.พ.)
นอกจากนี้ ผู้รับทุนต้องกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ https://goo.gl/forms/fc0PhrcK9CKjAovG2 เพื่อให้ทางฝ่าย พสวท. ดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น
4. การขออนุมัติรับทุนอื่น
การขอรับทุนอื่นแทนทุน พสวท. ให้ผู้รับทุนทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ สสวท. ผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยส่งให้ สสวท. ก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยผู้รับทุนต้องระบุข้อมูลและแนบเอกสารดังนี้
- สาขาวิชาที่ศึกษา
- สถานศึกษา ประเทศ ระยะเวลาที่ศึกษา และวันที่เดินทางไปศึกษา
- ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก เบอร์โทรศัพท์บ้าน และเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่
- ใบตอบรับจากสถานศึกษา
- ใบแสดงผลการเรียน
5. การทำสัญญารับทุนการศึกษาและข้อผูกมัดกับทุน พสวท.
ผู้รับทุนที่ได้รับอนุญาตให้รับทุนอื่น หรือทุนส่วนตัวไปศึกษาแล้ว จะต้องทำสัญญาเพิ่มเติมกับทุน พสวท. ว่าจะกลับมาปฏิบัติงานตอบแทนทุนให้กับทุน พสวท. ภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยช่วงเวลาที่อนุญาตให้ไปศึกษาด้วยทุนอื่นนั้นไม่คิดนับเป็นช่วงเวลาที่จะต้องปฏิบัติงานตอบแทน และการรับเงินทุนการศึกษาอื่นนั้น ก็ไม่คิดนับเป็นตัวเงินที่จะต้องชดใช้ทุนด้วย
6. การให้ทุนการศึกษา พสวท.
เมื่อผู้รับทุนสมัครรับทุนอื่น (ยกเว้นทุนส่วนตัว) และได้รับการอนุญาตจากคณะอนุกรรมการให้รับทุนดังกล่าวแล้วต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ทำสัญญารับทุนอื่น/รอเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ/ผู้รับทุนยังไม่ได้บรรจุเข้าปฏิบัติงานเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานใด คณะอนุกรรมการเห็นชอบให้จ่ายเงินทุนการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้รับทุนต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับกรณี ผู้ได้รับทุน พสวท. ศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ได้แก่
- เรียนภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่น) เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาไปต่างประเทศ
- ศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือเอกภายในประเทศ
- ปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับอาจารย์/นักวิจัย
ทั้งนี้ ผู้รับทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากศูนย์มหาวิทยาลัย และให้ศูนย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ควบคุมดูแล โดย สสวท. ยังคงจ่ายเงินทุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ในอัตราทุนระดับปริญญาตรี/โทภายในประเทศ (กรณีเดินทางไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ก่อนกำหนดเวลา สสวท. จะจ่ายยังคงจ่ายเงินทุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวจนถึงวันเดินทาง)
(2) หลังจากที่ผู้รับทุนทำสัญญารับทุนอื่น และทำสัญญาเพิ่มเติมกับทุน พสวท. เพื่อรับทุนอื่นหรือทุนส่วนตัวแล้ว ผู้รับทุนสามารถลาพักการศึกษาเพื่อเตรียมตัวไปศึกษาต่อด้วยทุนดังกล่าวได้ แต่จะไม่ได้รับเงินทุนการศึกษาของทุน พสวท.
(3) หลังจากผู้รับทุน พสวท. ได้ทำสัญญารับทุนอื่น และทำสัญญาเพิ่มเติมกับทุน พสวท. แล้ว และอยู่ในระหว่างการเตรียมตัวตามข้อ (1) และยังไม่ได้รับเงินทุนพสวท. ผู้รับทุนไม่สามารถรับเงินซ้ำซ้อนในเวลาเดียวกันได้
- หน่วยปฏิบัติงานตอบแทนทุน
(1) ผู้รับทุนที่ได้รับอนุมัติให้รับทุนอื่นไปศึกษา หรือศึกษาด้วยทุนส่วนตัว และไม่มีการกำหนดหน่วยงานให้เข้าปฏิบัติงานตอบแทนทุนภายหลังสำเร็จการศึกษา ผู้รับทุนต้องกลับมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติงานตอบแทนทุนกับทุน พสวท. ณ หน่วยงานที่ทุน พสวท. จัดเตรียมไว้ให้
(2) การปฏิบัติงานตอบแทนทุน ให้ผนวกเวลาการทำงานตอบแทนทุนของทุน พสวท. ต่อเนื่องไปกับการปฏิบัติงานชดใช้ทุน ณ หน่วยงานใหม่ที่กำหนดไว้ โดยมอบอำนาจการควบคุม ดูแล และการปฏิบัติงานตอบแทนทุนตามเงื่อนไขข้อผูกพันที่ทำไว้กับทุน พสวท. ให้กับหน่วยงานใหม่ ซึ่งเป็นผู้ให้ทุน
การกลับเข้ารับทุนการศึกษา พสวท. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จากทุนอื่น
คุณสมบัติ
- เป็นผู้รับทุน พสวท. ที่ได้รับอนุมัติให้รับทุนอื่นไปศึกษาจนถึงระดับปริญญาโท ซึ่งทุนอื่นที่ได้รับนั้น ต้องเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ทุนส่วนตัว ทุนผู้ช่วยสอน ทุนผู้ช่วยวิจัย ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นต้น
- ผู้ได้รับทุนอื่นที่มีเงื่อนไขข้อผูกพัน ต้องเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เจ้าของทุนกำหนดไว้ ซึ่งจะไม่มีสิทธิ์สมัครรับทุน พสวท. อีก เช่น ทุนรัฐบาลของสำนักงาน ก.พ. ทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เป็นต้น
สาขาวิชาที่ให้ศึกษา
สาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือสาขาวิชาที่คณะอนุกรรมการ ได้พิจารณาอนุมัติให้ศึกษา
การขอกลับเข้ารับทุน พสวท.
ผู้รับทุนสามารถยื่นใบสมัครรับทุน พสวท. เพื่อรับทุนการคัดเลือดศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาตามกำหนดในประกาศการสอบคัดเลือกฯ ตามปกติ โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่ทุน พสวท. กำหนดไว้
การทำสัญญารับทุนการศึกษาและข้อผูกพันกับทุน พสวท.
เมื่อผู้รับทุนได้รับคัดเลือกเป็นผู้ได้รับทุน พสวท. แล้ว ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ข้อบังคับของทุน พสวท. และต้องทำสัญญาเพิ่มเติมกับทุน พสวท. ว่า จะกลับมาปฏิบัติงานตอบแทนทุนให้กับทุน พสวท. ภายหลังสำเร็จการศึกษา
การขอเรียนภาษาต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัวระหว่างรอการตอบรับให้เข้าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา ณ ต่างประเทศ
ผู้รับทุน พสวท. ที่ประสงค์จะเรียนภาษาต่างประเทศ (ทั้งในและต่างประเทศ) ด้วยทุนส่วนตัว เพื่อรอการตอบรับให้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท/เอก ของสถานศึกษาด้วยทุนอื่นๆ ผู้รับทุนต้องทำหนังสือผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยเสนอคณะอนุกรรมการ เพื่อขออนุมัติเรียนภาษาต่างประเทศด้วยทุนอื่น พร้อมแนบหลักฐานประกอบการพิจารณาดังนี้
- หนังสือตอบรับเข้าศึกษาภาษาต่างประเทศจากสถานศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ (แล้วแต่กรณี)
- ใบแสดงผลการสอบ TOEFL หรือ IELTS หรือ ผลการศึกษาภาษาต่างประเทศอื่นๆ (เบื้องต้น)
ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาในการเรียนภาษาทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อรอการตอบรับจากมหาวิทยาลัยภายใน 1 ปี โดยนับจากวันที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือวันที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ หากครบกำหนดแล้ว ยังไม่มีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตอบรับ ผู้รับทุนต้องสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาโทหรือเอกภายในประเทศทันที
การปฏิบัติตัวของผู้รับทุน พสวท. ณ ต่างประเทศ
ผู้รับทุน พสวท. ที่ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ตามรายละเอียดหลักเกณฑ์ที่สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ กำหนด